มะนาว
ลักษณะทั่วไป
|
|
มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน
น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม
ผสมเกลือ และน้ำตาล เป็นน้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย
และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ
เสียบไว้กับขอบแก้ว เพื่อใช้แต่งรส ทำให้มีกลิ่นหอมตามต้องการ
ในผลมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยถึง
7% แต่กลิ่นไม่ฉุนอย่างมะกรูด
น้ำมะนาวจึงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นส่วนผสมน้ำยาทำความสะอาด เครื่องหอม
และการบำบัดด้วยกลิ่น (aromatherapy) หรือน้ำยาล้างจาน
ส่วนคุณสมบัติที่สำคัญ ก็คือ การส่งเสริมโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเคยเป็นปัญหาของนักขายโรตีมาช้านาน
ภายหลังได้มีการค้นพบว่าสาเหตุที่มะนาวสามารถช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด
เพราะในมะนาวมีไวตามินซีเป็นปริมาณมาก
มะนาวมีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นสดชื่น
เพราะมีส่วนประกอบของสารซิโตรเนลลัล (Citronellal) ซิโครเนลลิล
อะซีเตต (Citronellyl Acetate) ไลโมนีน (Limonene) ไลนาลูล (Linalool) เทอร์พีนีออล (Terpeneol)
ฯลฯ รวมทั้งมีกรดซิตริค (Citric Acid) กรดมาลิค
(Malic Acid) และกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) ซึ่งถือเป็นกรดผลไม้ (AHA : Alpha Hydroxy Acids) กลุ่มหนึ่ง
เป็นที่ยอมรับว่าช่วยให้ผิวหน้าที่เสื่อมสภาพหลุดลอกออกไป พร้อมๆ
กับช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ช่วยให้รอยด่างดำหรือรอยแผลเป็นจางลง
|
พันธุ์มะนาวที่นิยมปลูกในประเทศไทย
|
ที่มา
: วิกิพีเดีย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น