วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB)
              เป็นแบคทีเรียพบกระจาย ทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม ทะเลสาบน้ำเค็ม น้ำทะเลสาบที่มีความเป็นด่าง น้ำที่มีความเป็นกรด น้ำพุร้อน น้ำทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้ ยังพบตามแหล่งน้ำเสีย บ่อบ้ำบัดน้ำเสีย บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีความสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ และการตรึงไนไตร นอกจากนี้ ยังมีบทบาท สำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมา ใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ในน้ำเสียจากบ้านเรือนและน้ำเสียจากการทำปศุสัตว์สามารถบำบัดด้วย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาพเชื้อจุลินทรีย์สีแดงที่ขยายดูเชื้อจากกล้องจุลทรรศน์

            จุลินทรีย์สีแดงหรือแบคทีเรียสังเคราะห์แสง ใช้ในงานเกษตรกรรมต่างๆอุตสาหกรรม หลากหลาย ใช้กันแพร่หลายไปทั่วโลกมานานกว่า 50 ปี โดยเฉพาะญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับจุลินทรีย์ตัวนี้ ได้ให้ประชาชน ทุก ๆ วงการรู้และเข้าใจในประโยชน์ของจุลินทรีย์นี้อย่างกว้างขวาง

             จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง SUN SMILE เป็นจุลินทรีย์ที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ทั่วไปที่ใช้กันอยู่ เพราะจุลินทรีย์เหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่สามารถทนทานต่อภาวะที่มีแสงได้ ความแข็งแรงและทนทานมีสภาวะที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้ ประสิทธิภาพการใช้ในงานต่างๆได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเท่าที่ควร


            SUN SMILE เป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ได้รับการเลือกสายพันธุ์พิเศษ มีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้ในที่มี แสงสว่างได้ดี และที่มีแสงสว่างน้อย ทั้งที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน

                 รศ.ดร. นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ อาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมากว่า 30 ปีอธิบายว่า คนเรารู้จักใช้ประโยชน์จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ในด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยกระบวน การต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ เช่นในการบำบัดน้ำเสียซึ่งมีสารอินทรีย์ต่างๆ อยู่มาก แบคทีเรีย เหล่านี้ ก็จะใช้สารเหล่านั้นในการดำรงชีวิตและทำให้น้ำเสียดีขึ้น
จุลินทรีย์สีแดง

                นายสุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้ประสานงานโครงการจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อการเกษตรและ สิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่ามีการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงในไทย ประมาณ 30 ปีแล้ว แต่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ EM หรือน้ำหมักชีวภาพซึ่งไม่สามารถจำแนก ได้ว่ามีสายพันธุ์อะไรบ้างหรือมีคุณสมบัติอะไรที่แน่นอน

               ส่วนการใช้ประโยชน์จากสายพันธุ์แบคทีเรียที่ทราบแน่ชัดนั้น ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้กับการ เกษตร ซึ่งพิสูจน์แน่ชัดว่าใช้ได้ผลจริง โดยใช้เพิ่มผลผลิตข้าวที่เพิ่มถึง 3 เท่า และทำให้เมล็ดข้าวใหญ่ ขึ้น 2 เท่า ทั้งนี้ เพราะแบคทีเรียช่วยปรับสภาพดินให้เหมาะกับการดูดซึมสารอาหารของรากข้าวโดย ย่อยสลายสารเคมีบางตัวที่ต่อต้านการเจริญเติบโตของรากข้าว ซึ่งใช้แบคทีเรียในรูปส่วนผสมของปุ๋ย อินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงยังใช้เป็นอาหารเสริมให้กับสัตว์เนื่องจากแบคทีเรียมีโปรตีนที่จำเป็น ต่อสัตว์ อีกทั้งแบคทีเรียบางสายพันธุ์ยังผลิตสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งมีสีแดงออกส้มเมื่อ ผสมอาหารให้ไก่กินจะช่วยเพิ่มสีให้ไข่แดงของไก่ สารดังกล่าวได้จากธรรมชาติจึงมีความปลอดภัยกว่า สารสังเคราะห์

               Maki (2004) ได้รายงานว่า ดินในบริเวณรากข้าวในระยะข้าวตั้งท้อง จะมีสภาวะแบบไม่มี ออกซิเจนทำให้แบคทีเรียที่ในกลุ่มแอนแอโรบิคแบคทีเรียเจริญได้ดี สร้างก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ขึ้นมา ทำให้มีผลไปยับยั้งกระบวนการสร้างเมตาโบลิซึมของรากข้าวซึ่งเป็นพิษต่อราก แต่เมื่อน้ำ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใส่ลงในดินในระยะเวลาดังกล่าว จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะเปลี่ยน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ให้อยู่ในรูปสารประกอบซัลเฟอร์ ที่ไม่เป็นพิษต่อราก จึงมีผลให้รากของต้นข้าว เจริญงอกงามมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและลักษณะของต้นข้าวก็มีความแข็งแรง ซึ่งมีผลให้ผลผลิตของ ข้าวมากขึ้น ตามไปด้วย
รากข้าวที่ออกมากกว่าปกติทำให้ได้ผลผลิตสูง


                ประโยชน์จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง SUN SMILE บำบัดน้ำเสีย ในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมในการผลิตอาหาร อุตสาหกรรมทางเคมี ช่วยป้องกัน มลพิษทางอากาศช่วยกำจัดของเสียและแร่ธาตุที่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

                วงการสัตว์น้ำและปศุศัตว์  ในวงการปศุสัตว์และสัตว์น้ำ นำไปผสมเป็นอาหารเสริมเพราะเซลล์ของจุลินทรีย์นี้ประกอบด้วยโปรตีนสูงถึง ร้อย ละ 60-65 มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนและยังมีวิตามินแร่ธาตุ เช่น วิตามิน บี 1 กรดฟอลิค (B9) วิตามิน ดี วิตามิน บี 2 วิตามิน บี12 วิตามิน อี วิตามิน บี 3 วิตามิน ซี วัตถุสีแดง(CAROTENOID) และให้สารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูนิควิโนน โคเอนไซม์ Q ออกซิน ไซโตไคนิน ซีเอติน กรดบิวทีริกและกรดอะซิติก

             เป็นสารอาหารเสริมในสัตว์ แข็งแรง ปลอดโรค โตไว มีคุณภาพเพิ่มผลผลิต - ควบคุมน้ำเสียในบ่อสัตว์น้ำ ลดปัญหาโรคต่างๆในน้ำ อัตรารอดสูงและเพิ่มปริมาณผลผลิตมากขึ้น - กำจัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มทำให้สัตว์เลี้ยงแข็งแรงต้านทานโรคดี ผลผลิตสูง
                วงการเกษตร ใช้ในนาข้าว,พืชไร่,ไม้ผล,ไม้ประดับ ฯลฯ ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหลักลงถึง 50 % ลดก๊าชไข่เน่าในดิน ช่วยให้รากพืชขยายได้ดีและกินปุ๋ยได้ดีขึ้น เพิ่มผลผลิตมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 30 %  เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการใช้เพิ่มผลผลิตข้าวได้มากถึงไร่ละ 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะดินในบริเวณราก ข้าวจะเกิดแก๊สไข่เน่า ซึ่งไปยับยั้งการดูดซึมของรากข้าว แต่ SUN SMILE จะไปเปลี่ยนแก๊ส ไข่เน่าให้ไปอยู่ในรูปสารประกอบซัลเฟอร์ที่ไม่เป็นพิษต่อรากทำให้รากข้าวเจริญงอกงามสามารถดูดซึมอาหารให้ ต้นข้าวแข็งแรงและขจัดสารพิษในนา ส่วนในพืชอื่นๆก็เช่นกันช่วยทำให้รากของพืชแข็งแรงสามารถหาอาหารได้เก่งสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้น และ SUN SMILE ยังมีโปรตีนสูงและวิตามินแร่ธาตุมากมาย เป็นประโยชน์กับพืชอย่างมากเพิ่มคุณภาพผลผลิต พืชมีความแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงต่างๆได้ดี ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดิน

สรุปประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
1. ช่วยลดก๊าซไฮโดรซัลไฟด์ (H2S) ในดินช่วยให้รากของพืชขยายได้ดีและทำให้พืชกินปุ๋ยได้ดีขึ้น
2. ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหลักลง 50 %
3. ช่วยให้ผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 % เนื่องจากพืชมีความสามารถในการดูดกินปุ๋ยได้ดีขึ้น ช่วย ให้พืชมีความแข็งแรงและต้านทานโรคได้ดี
4. เซลล์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน และยังมีวิตามิน และแร่ธาตุ เช่น B1 B2 B6 B12 กรดโฟลิค วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี รงควัตถุสีแดง (carotenoid) และสารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูบิควิโนน โคเอนไซม์คิวเท็น ไซโตไคนิน ซีเอติน ออกซิน กรดอินโดล -3- อะซิติก (Indole-3-acetic acid : IAA) กรดอินโดล -3-บิวทีริก (Indole-3-butyric acid : IBA) ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช


                                                                                                       เรื่องและเรียบเรียงโดย ชายตุ๊แสนฤทธิ์

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู


           สำหรับการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์นั้นวัตถุประสงค์  เพื่อควบคุมให้ต้นมะนาวออกผลแก่และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูแล้ง หรือนอกฤดู คือช่วงเดือน มีนาคม ถึงเดือน เมษายน ซึ่งมะนาวจะมีราคาแพงมาก สำหรับการปฏิบัติในช่วงเดือนต่างๆ  เพื่อผลิตมะนาวนอกฤดูมี ดังนี้
          1. เดือนพฤษภาคม ถึงเดือน กรกฏาคม  ช่วงนี้เรียกว่าช่วงบำรุงต้น เป็นการสะสมอาหารของมะนาว ให้ทำการตัดแต่งกิ่งรวมถึงให้ปลิดดอกและลูกมะนาวออกจากต้นให้หมด และจำไว้เสมอว่ามะนาวจะไม่มีการออกลูกหรือดอกโดยเด็ดาด ให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรวมถึงใส่ปุ๋ยเคมี สูตรตัวหน้าที่มีธาตุอาหารสูง เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 สลับกับปุ๋ยสูตร   46-0-0  ห่างกันประมาณ 15-20  วัน  ที่สำคัญช่วงนี้มะนาวจะแตกยอดอ่อนออกมามากให้บำรุงรักษายอดอ่อนของมะนาวให้ดี โดยการพ่นยากำจัดหนอนชอนใบ
          2. เดือน  สิงหาคม ถึงเดือน ตุลาคม ช่วงนี้เรียกว่าช่วงสะสมอาหารเพื่อผลิตผล ให้งดการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 กับ 46-0-0  และปุ๋ยคอก ให้ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารตัวกลาง และตัวท้ายสูง  เช่น สูตร 8-24-24  หรือ 12-24-12  ส่วนทางใบให้ฉีดพ่นด้วยสารเปิดตาดอก  ฮอร์โมน  ปุ๋ยทางใบ เช่นสูตร 0-52-34 พร้อมกับการงดให้น้ำแก่ต้นมะนาวประมาณ 7-15 วัน จนกระทั่งใบเหลืองและร่วง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินที่ปลูก  ประมาณ  15  วันมะนาวก็จะเริ่มออกดอก
          3. ช่วงเดือนตุลาคม มะนาวเริ่มออกดอก ให้นับไปอีกประมาณ 4 เดือนครึ่ง  ถึง 5 เดือน  มะนาวก็จะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวในเดือน  มีนาคม – เมษายน  ซึ่งตรงกับช่วงมะนาวมีราคาแพงพอดี
             เทคนิคดังกล่าวนี้เป็นเทคนิคที่ทราบกันโดยทั่วไป เกษตรกรมืออาชีพต้องหมั่นสังเกตและจดจำเพื่อนำไปปรุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สวนของตนเอง อันจะทำให้ประสบผลสำเร็จในการผลิตมะนาวนอกฤดู

สวนมะนาวดูแลง่าย ๆ จ้ะ


           บางท่านที่กำลังจะเริ่มปลูกมะนาว สอบถามผมมาว่าปลูกมะนาวยังไง ถึงงาม ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมก็มือใหม่ เมื่อ 1 ปีที่แล้ว ไม่ได้เป็นผู้รอบรู้อะไร อาศัยศึกษาจากเน็ต สอบถามจากท่านผู้รู้ และ ทดลองลงมือเอง เอาเป็นว่าผมขอแชร์ประสบการณ์ในการปลูกมะนาวในวงบ่อ 1 ปีกว่า มาดูเพื่อนที่เป็นมือใหม่ เช่นผม แล้วกันนะครับ 
           1.การเลือกกิ่งพันธุ์ เลือกพันธุ์ที่ คนในท้องถิ่นจะดีสุด เช่นแถวบ้านผมเขากินมะนาวแป้น ผมเลยปลูก แป้นดกพิเศษ แป้นรำไพ แป้นพิจิตร 1 เพราะจะได้ขายง่ายๆและเลือกกิ่งพันธุ์จากสวนที่เชื่อถือได้ ไม่เป็นโรค
           2.การผสมดินในการปลูก ผมใช้สูตร 3:1:1 หน้าดิน:ขี้วัวเก่า:แกลบดิบ ผสมให้เข้ากัน ใส่ให้เต็มวงบ่อ จนพูน
           3.กิ่งพันธุ์ที่นำมาปลูกควรชำประมาณ 20-30 วัน อย่าเกิน 30 วันนะครับ เพราะรากจะขดโตช้า
           4.การปลูก อย่าปลูกลึกเกินไป อย่าให้ดินท่วมโคน และ ควรเสียบไม้ค้ำกันลม ครับ 
           5. การให้น้ำหลังปลูก ควรให้ระบบมินิสปริงเกอร์ วันละ 5-10 นาที ทุกวัน เช้า หรือ เย็น 
           6.การให้ปุ๋ยทางดิน ที่สวนผมใช้สูตรเสมอ 16 สูตรเดียว ในการปลูกผมไม่ได้รองพื้นด้วยปุ๋ย หลังจากปลูก 1 เดือนผมจะให้ ปุ๋ย ครั้งแรก มะนาวอายุ 1-2 เดือนให้ปุ๋ย ครึ่งช้อนแกง อายุ 3-5 เดือน 1 ช้อนแกง 6-12 เดือน ครั้งละ 3-4 ช้อนแกง ให้ปุ๋ย 20 วันครั้ง วิธีให้ปุ๋ย รดน้ำให้ชุ่ม โรยปุ๋ยห่างจากโคนต้นเป็นวงกลม รดน้ำให้ปุ๋ยละลาย ควรให้ปุ๋ยตอนเย็น อากาศจะได้ไม่ร้อนมาก ควรให้ปุ๋ยหมักสลับบ้าง 3 เดือน/ครั้ง
            7. การให้ปุ๋ยทางใบ ผม ให้ปุ๋ยทางใบด้วยน้ำหมักผลไม้สุก (หมักเอง)ฉีดพ่น แบบละออง สัปดาห์ละครั้ง อัตราส่วน 40-50 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร 
            8.การดูแลรักษา มะนาวต้องรักษายอดอ่อนให้ได้ มะนาวจะโตเร็ว ปราศจากโรค เพราะ หนอน หรือ แมลง จะกินแต่ยอดอ่อน 
            9.การรักษายอดอ่อนป้องกันหนอนชอนใบ เคมีฉีดพ่นด้วยอะบาแมคติน อินทรีย์ น้ำส้มควันไม้ 5-7 วัน ต่อ ครั้ง ในการฉีดสามารถผสมกับน้ำหมักผลไม้สุดฉีดพ่นพร้อมกันได้ เวลาพ่น เช้า หรือ เย็น (ใส่ชุดป้องกันด้วยนะครับ) นอกจากหนอน แมลงช้างค้อมก็ร้ายกาจ ฉีดพ่นด้วยคาโบซัลแฟน ถ้ามีเยอะๆ นะครับ
           10.โรคแคงเกอร์ ที่สวนยังไม่เจอร์ ถ้าเจอกิ่งไหน ตัดทิ้งไปเผา ฉีดป้องกันด้วยสารพวกคอปเปอร์ ถ้าเป็นทั้งต้น ให้ตัดต้นทิ้ง และ เผาไฟ
           11. การตัดแต่งกิ่ง ควรตัดแต่งกิ่ง 6 เดือนครั้ง ตัดให้โล่งแดดส่องถึงโคนต้นป้องกันการเกิดโรคได้ ครับ และมะนาว ยิ่งตัดยอดยิ่งแตก 
           12.อื่นๆ สอบถามเพิ่มได้นะครับ ตาเริ่มจะลาย ครับ 5555 

                                         ขอบคุณ :ไร่โชคเจริญรัตนะ เกษตรพอเพียง  ผู้ให้ข้อมูล

วิธีการขยายพันธุ์พืช ด้วยการปักชำแบบควบแน่น

                 วิธีการขยายพันธุ์พืช ด้วยการปักชำแบบควบแน่น โดยแนวคิดของนายเฉลิม พีรี
                                          จาก ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
                         บ้านวัดใหม่ ๗๕ หมู่ ๓ ต.บึงสามัคคี อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร 089 – 5670591
                                                        วิธีการปักชำแบบควบแน่น



            วิธีนี้ใช้ได้กับพืชผักและผลไม้ ๓๐ กว่าตัวอย่าง สามารถขยายได้ทีละมากๆ เมื่อเกิดน้ำท่วม
หรือลมพัดต้นแม่พันธุ์เสียหาย สามารถใช้วิธีนี้อนุรักษ์พันธุ์พืชได้ การขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้านแบบควบแน่นอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิธีการที่สามารถลดเวลา ต้นทุนและการดูแลรักษา สามารถกำหนดปริมาณของผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดและการบริโภคได้อย่างแม่นยำ
การขยายพันธุ์มะนาว แบบควบแน่น
องค์ประกอบในการควบแน่นมะนาว มีดังนี้
          - ยอดมะนาว ความแก่อ่อน ๔๐ – ๖๐%
          - น้ำสะอาด
          - แก้วพลาสติค ขนาดบรรจุ ๑๐ ออนซ์ (หรือภาชนะที่ขนาดใหญ่กว่า ดูตามขนาดของยอดหรือกิ่งมะนาว)
          - ถุงพลาสติคใสขนาด ๖ x ๑๑ นิ้ว (หรือขนาดใหญ่กว่า )
          - ยางวงเส้นเล็ก หรือเชือก

วิธีทำการปักชำแบบควบแน่น
วิธีทำ
          - เก็บดินจากบริเวณที่มีอินทรีวัตถุน้อย ทำดินให้ร่วนซุย
          - พรมน้ำคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วปั้นดู พอติดมือ (กำพอเป็นก้อน)
          - นำดินใส่ให้เต็มแก้วพลาสติคหรือภาชนะกระถางที่จะใช้ โดยแบ่งใส่ ๓ ครั้ง แต่ละครั้งกดดินให้แน่น ระดับ ๘๐%
          - ใช้ไม้แหลมหรือกรรไกรเสียบตรงกลางภาชนะที่ใส่ดินให้ลึกไม่เกิน ๓ ใน ๔ ส่วนของแก้ว
          - ใช้กรรไกรคม ตัดยอดมะนาวตามที่ต้องการ ตัดให้ยาวประมาณ ๑๒ – ๑๘ ซม. ข้อสำคัญ อย่าให้แผลที่ตัดเปลือฉีก จะออกรากไม่ดี
          - ใช้กรรไกรตัดหนามออกให้หมด ป้องกันหนามแทงถุง ถ้าอากาศเข้าจะออกรากยาก
          - นำยอดมะนาวเสียบลงในรูที่เสียบไว้ ให้สุด
          - กดดินรอบกิ่งมะนาวให้แน่น อย่าให้หลวม จะออกรากยาก
          - นำถุงพลาสติคครอบลงแล้วรัดด้วยยางวงจำนวน ๒ เส้น แล้วดึงก้นถุงให้ยางไปรัดอยู่ที่ขอบปากแก้ว
          - นำไปเก็บไว้ในที่ร่มรำไร หลังจากนั้น ๑๕ – ๒๐ วัน ให้ตรวจดูราก พอพบรากให้ปล่อยจนรากมีสีน้ำตาลค่อยกลับถุง



การกลับถุง มีวิธีดังต่อไปนี้
          ๑.ให้นำถุงออกจากแก้ว ช่วงประมาณ ๑๘.๐๐ น. เพื่อป้องกันความร้อน
          ๒.นำถุงออกแล้ว นำแก้วมะนาวที่ออกรากแล้ว ใส่กลับลงไปในถุง (เปิดปากถุงไว้ ไม่ต้องใช้ยางวงรัด)
          ๓.ทิ้งไว้ในร่มรำไร ประมาณ ๕ – ๗ วัน ค่อยนำแก้วมะนาวออกจากถุง เพื่อให้มะนาวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
          ๔.หลังจากนั้นนำแก้วมะนาวที่ออกจากถุง พักตัวไว้ในร่ม ๗ – ๑๐ วัน ค่อยนำไปเพาะในกระถาง หรือนำไปปลูกได้เลย



           โดย ลุงเฉลิม บอกว่า ลงทุนแค่แก้วพลาสติกใสเพื่อจะได้มองเห็นรากที่งอก, ยางเส้นวงเล็ก, ถุงพลาสติกขนาด 6×10 หรือ 6×11 นิ้วและดินทั่วๆ ไป แต่ถ้าเป็นดินขุยไผ่ยิ่งดี (ห้ามใส่ปุ๋ยเพราะทำให้ดินร้อน) เอาดินมาพรมน้ำทดลองกำ ถ้าดินจับตัวเป็นก้อนมีความร่วนซุยใส่ลงในแก้วพลาสติกกดให้แน่นจนดินเต็มเสมอปากแก้ว…จากนั้นเอายอดกิ่งไม้ที่เลือกไว้ ความอ่อนแก่ 40-60 เปอร์เซ็นต์ตัดกิ่งให้แผลเป็นรูปปากฉลาม ใช้กรรไกรเจาะดินลงไป 3 ใน 4 ส่วนของดิน นำกิ่งชำมาเสียบและกดลงไปให้แน่นแล้วเอาถุงพลาสติกสวมครอบกับแก้วพลาสติก แล้วใช้หนังยางวง 2 เส้น รัดปิดปากถุงกับแก้ว ป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้านำไปวางในที่ร่มอากาศถ่ายเท ทิ้งไว้ 15 วัน แล้วรากจะงอกมาให้เห็นเมื่อรากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จัดการเปิดถุงตัดก้นถ้วยให้เกิดช่องอากาศ นำไปจุ่มน้ำเล็กน้อยดึงแก้วออก แล้วเอากิ่งปักชำใส่ถุงใบเดิม นำไปวางพัก 5-7 วันจากนั้นถึงนำไปปลูกลงดิน โดยให้กิ่งชำเอนเฉียงไปทางทิศเหนือหรือใต้ เพราะถ้าปลูกตั้งตรงหรือหันเฉียงไปทางทิศอื่นแดดจะเผากิ่งชำตายได้…เป็นเทคนิคง่ายๆ ทำเองได้ ใช้ทุนไม่สูง จะเอาทำค้าขาย ลุงเฉลิม ไม่หวงวิชา. ( ลุงเฉลิมได้กล่าวไว้)



ปักชำควบแน่นพันธุ์ไม้ที่มีกิ่งที่ใหญ่
           ในส่วนนี้ขอเสริมอีกหน่อย ถ้าเป็นต้นไม้ใหญ่ หรือพันธุ์ไม้ที่มีกิ่งที่ใหญ่ ก็ให้ใช้วัสดุในการปักชำใหญ่ขึ้นตามและอาจจะนำไม้ค้ำ ไว้ด้วยก็ดีเพื่อเสริมความคงทนไม่เอนเอียงง่ายไงก็ลองปรับ และ ประยุกช์ใช้กันนะครับ เพราะโดยส่วนตัวผมคิดว่า การนำความรู้ต่างๆมาประยุกช์ใช้ให้เข้ากับ
สิ่งที่เราอยากจะทำ มันจะนำพาความรู้มาต่อยอดให้เราได้เรื่อยๆ .. ” เกษตรกรไทย ก็เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก ” ครับผม

                                                                     ขอบคุณลุงเฉลิม พีรี เจ้าของข้อมูล

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิธีกำจัดเพลี้ยแป้ง...แบบง่ายๆ เพื่อใครที่เจอกับปัญหานี้อยู่ ลองดูกันนะครับ

               
              การกำจัดเพลี้ยแป้ง เพราะคนที่ปลูกไม้กระถางหรือผักสวนครัวมักถูกเพลี้ยแป้งเข้ามารบกวนการใช้สารเคมีฆ่าเพลี้ยเท่ากับฆ่าเราด้วย เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงที่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงตามต้นไม้ ยอดใบอ่อนหรือใต้พุ่มใบ โดยอาศัยมดคอยคาบเพลี้ยไปวางตามยอดไม้ แล้วคอยกินน้ำหวานที่เพลี้ยถ่ายออกมาวิธีการกำจัดคือ


           1. กำจัดที่ต้นตอ คือ มด ออกไปเสียก่อนเพลี้ยแป้งเคลื่อนไหวช้ามาก มดต้องคาบไปวางตามยอดไม้ แล้วคอยกินน้ำหวานที่เพลี้ยถ่ายออกมาเหมือนเราเลี้ยงวัวนม ถ้ากำจัดมด ได้ทำให้เพลี้ยหมดรถเดินทางเคลื่อนย้ายระบาดได้ยาก 
           2. ตัดส่วนที่มีเพลี้ยแป้งออกไปทิ้ง
           3. ใช้น้ำส้มสายชู 1 ฝา ผสมกับน้ำเปล่า 2-3 ลิตร พอให้เจือจาง นำไปผสมกับน้ำยาล้างจานอีกเล็กน้อย แล้วฉีดพ่นที่ตัวเพลี้ย ไม่นานเพลี้ยจะหายไป 
          4. ใช้พริก จะสดจะแห้งก็ได้ เอาเผ็ดๆ สักช้อน-2ช้อนกาแฟน้ำยาล้างจาน แบบที่ไม่มีสารฟอก 1 ช้อนกาแฟ
กระเทียมสด 1 หัวใหญ่หัวหอมสด 1 พอๆ กับกระเทียมปั่น , เติมน้ำให้ปั่นให้ทั่วได้เติมน้ำเกือบเต็มขวดน้ำอัดลม 2 ลิตร เอาของที่ปั่นแล้วเทลงไป หมักทิ้งไว้ 1 คืนกรอง แล้วเอาไปใช้กับสเปรย์ได้เลยระวัง พวกผักใบอ่อน เช่น ผักกาด อาจจะไหม้
          5. วิธีการนี้ได้มาจาก รักบ้านเกิด ดอทคอม
          สูตรที่ 1 : นำเอาเนื้อในผลแก่จัดของน้ำเต้าจำนวน 1 กิโลกรัมคั้นเอาเฉพาะน้ำกรองด้วยตาข่ายเขียวและผ้าขาวบางจากนั้นนำไปผสมกับ น้ำเปล่าจำนวน 5 ลิตร นำไปใช้งานในอัตราส่วน 1 ลิตรผสมกับน้ำเปล่า 200 ลิตรทำการฉีดพ่นเพื่อกำจัดราดำและเพลี้ยในถั่วฝักยาว 
          สูตรที่ 2 : นำน้ำผงซักฟอกที่ใช้ซักผ้า(น้ำแรก)จำนวน 10 ลิตรผสมกับน้ำเปล่า 200 ลิตรนำไปฉีดพ่นในช่วงที่มีอากาศเย็น1-2 ครั้งสามารถกำจัดเพลี้ยแป้งได้
          สูตร ที่ 3 : ใช้น้ำผงซักฟอกจำนวน 100 ซี.ซี.ผสมกับน้ำเปล่า 200 ลิตรแล้วนำไปผสมกับน้ำของน้ำเต้าที่กรองแล้วจำนวน 1 ลิตร สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืชได้ดี
          6. วิธีจากลุงเบิ้มฟาร์ม สิ่งที่ต้องเตรียม ก็มีแป้งข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวละเอียด 2 ถ้วย + น้ำ 5-10 ลิตร ฉีดพ่นใส่ต้นพืชบริเวณที่ เพลี้ยอ่อน ไร กำลังระบาด ตอนเช้า แสงแดดเริ่มส่อง พอถึงตอนกลางวันขอให้มีแสงแดดจัด เมื่อแดดร้อนขึ้นน้ำในแป้งแห้งเหลือแต่แป้งคลุมตัวเพลี้ยอ่อนและไร ทำให้หายใจไม่ออกและแป้งร้อนขึ้นจนเพลี้ยอ่อนแลไรตาย การใช้แป้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของพืชนะครับ

          7. สูตรคุณบุญล้อม เฉิดไธสงค์ เกษรตกร บ้านห้วยค้อ ต.หนองแวงนาเป้า อ.พล จ.ขอนแก่น
          ส่วนผสม และวัสดุอุปกรณ์ 
          1.ใบมะละกอสด 5 ก.ก.
          2.ยาฉุน 2 ขีด
          3.น้ำหมัก EM สูตรสมุนไพร 1 ช้อนโต๊ะ
          4.น้ำเปล่า 5 ลิตร
          5.ถุงมือแพทย์
          วิธีการทำ 
          นำเอาใบมะละกอสด มาขยี้คั้นเอาแต่น้ำ ผสมยาฉุนขยี้และกรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำหมัก EM สูตรสมุนไพร 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน 
          วิธีการนำไปใช้ 
          นำ เอาน้ำสกัดหยอดน้ำมันพืชลงไป 1 ช้อนชา นำไปฉีดพ่นทางใบ โดยไม่ต้องผสมน้ำอีก บริเวณเกิดการระบาดของเพลี้ยที่เกิดจากพืชทุกชนิด อาทิ พริก ถั่วฝักยาว มะเขือ แตงกวา เป็นต้น สรรพคุณสามารถกำจัดเพลี้ยแป้ง เพลี้ยดำ แมลงหวี่ แมลงวันทองได้

                           แถมอีกนิด กับ สูตรการกำจัดเพลี้ยและแมลงต่างๆ
                     1. สูตรป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ และแมลงอื่นๆ
          ส่วนประกอบ
          1. เหล้าขาว 2 ขวด
          2. น้ำส้มสายชู 5% 1 ลิตร
          3. สารอีเอ็ม 1 ลิตร
          4. กากน้ำตาล 1 ลิตร
          5. น้ำสะอาด 10 ลิตร
           วิธีทำ
           นำกากน้ำตาลผสมน้ำคนให้เข้ากันใส่เหล้าขาว น้ำส้มสายชู และสารอีเอ็มผสมให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะให้สนิท หมักทิ้งไว้ 10-15 วัน คนส่วนผสมในภาชนะทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น เปิดฝาระบายก๊าซหลังจากคน เมื่อครบกำหนดแล้วจึงนำไปฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลง และป้องกันโรคพืชบางชนิด เช่น ใบหงิกและใบด่าง
          วิธีใช้
          - ใช้ 1-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร
          - ฉีดพ่นให้ชุ่มและทั่วถึงทั้งนอกและในพุ่ม
          - ใช้กับพืชผักทุก 3 วัน สลับกับพ่นปุ๋ยน้ำ
          - พืชไร่ พืชสวน พ่นทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
          - ผสมกับกากน้ำตาล หรือนมสด ฯลฯ เพื่อเป็นสารจับใบ

   สูตรป้องกันกำจัดหนอนหลอดหอม หนอนชอนใบ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยในผลไม้ (สูตรเข้มข้น)
          ส่วนประกอบ
          1. เหล้าขาว 2 แก้ว
          2. น้ำส้มสายชู5% 1 แก้ว
          3. สารอีเอ็ม 1 แก้ว
          4. กากน้ำตาล 1 แก้ว
          วิธีทำ
          นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงไปในภาชนะคนให้เข้ากันและปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 1 วัน แล้วนำไปฉีดพ่น
          วิธีใช้
          ใช้ 5-10 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร

                                     สูตรไล่หอยหรือเพลี้ยไฟป้องกันใบข้าวไหม้
           ส่วนประกอบ
          1. ยอดยูคาลิปตัส 2 กิโลกรัม
          2. ยอดสะเดา 20 ยอด หรือ 1 ปี๊บ
          3. ข่าแก่ 2 กิโลกรัม
          4. บอระเพ็ด 2 กิโลกรัม
          5. จุลินทรีย์ 1 แก้ว
          6. กากน้ำตาล 1 แก้ว
          วิธีทำ
           นำยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่ และบอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกกันใส่ปี๊บ ใส่น้ำให้เต็มต้มให้เหลือน้ำอย่างละครึ่งปี๊บทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาเทรวมกันใส่โอ่ง ใส่จุลินทรีย์ลงไป 1 แก้ว กากน้ำตาล 1 แก้ว ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 3 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำ นำน้ำที่ได้มาใช้
          วิธีใช้
           ใช้ 0.5 แก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นราดในไร่หรือนาข้าว

                                      อีก 1 สูตรกับสูตรของทางเว็บรักบ้านเกิด
          1.กระเทียม : ใช้ส่วนหัวสดแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่ในน้ำมันก๊าดหรือแอลกอฮอล์พอท่วม (ประมาณ 1 ลิตร) นาน 24 ชม. หรือแช่ในน้ำร้อนจัด 1 ลิตร นาน 24 ชม. เหมือนกัน ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อทั้งหมดผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ด้วงหมัดผัก ด้วงปีกแข็ง ด้วงงวงกัดใบ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไส้เดือนฝอย แมลงหวี่ขาว เชื้อรา(โรคกลิ่นสับปะรด โรคต้นเน่าผลเน่า โรคผักเน่า โรครากำมะหยี่หรือใบไหม้ โรคราน้ำค้าง โรครากเน่าโคนเน่า โรคเหี่ยว โรคใบจุด โรคใบเน่า) ไวรัสวงแหวนในมะละกอ แบคทีเรียต่างๆ
          2.ขมิ้นชัน : ใช้ส่วนหัวแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1-2 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เชื้อรา(โรคผลเน่า โรคใบแห้ง) หนอน(หนอนกระทู้ผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนแก้ว หนอนใยผัก หนอนเจาะยอด) ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว ด้วงงวงข้าวเปลือก มอดข้าวเปลือก ไรแดง
          3.ยาง มะละกอ : ใช้ส่วนใบแก่สดและเปลือกผลแก่ติดยาง 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ราสนิมกาแฟ ราแป้ง เพลี้ยไฟ
          4.น้ำยาฉุนเพื่อฉีดป้องกันและกำจัดแมลง 
           น้ำยางกล้วย + กระทิงแดง 1 ขวด
            1. รองน้ำยางกล้วยจากการตัดปลีกล้วยออก
            2. นำมาผสมในกระทิงแดงจนเต็มขวด
            3. เขย่าขวดแช่ตู้เย็นไว้
             การใช้งาน
            1. ผสมน้ำยางกล้วยผสมกระทิงแดง 1ฝา ต่อ น้ำ 20 ลิตร
            2. ป้องกันมด,แมลงกับเพลี้ยอ่อน

                 ขอบคุณที่มา ของการรวบรวมสูตรต่างๆ โดย : อาจารย์ชาตรี ต่วนศรีแก้ว

                                                       จุลินทรีย์หน่อกล้วย


            1. จุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรหัวเชื้อ

             กล้วยปลูกที่ไหนดินบริเวณกอกล้วย ณ นั้น จะดี เบื้องหลังความร่วนซุยอุ้มน้ำของดินดังกล่าวเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินรอบๆ รากกล้วย ซึ่งหากขยายเชื้อให้มากแล้ว ย่อมนำไปใช้ปรับปรุงดินในที่อื่นๆให้ดีขึ้นได้นอกจากนั้นหน่อกล้วย มีน้ำยางฝาดหรือสารแทนนินมาก เมื่อหมักแล้วน้ำหมักที่ได้ยังสามารถนำมาใช้ในการควบคุมโรคพืชบางอย่างได้ทั้งสามารถนำไปใช้ปรับปรุงสภาพน้ำที่เน่าเสียให้ฟื้นสภาพกลับดีได้อีกด้วย
          ส่วนผสม
          1. หน่อกล้วยสับบดละเอียด    3    กก.
          2. กากน้ำตาล                     1    กก.
          วิธีทำ   
         ขุดหน่อกล้วยต้นสมบูรณ์ที่ไม่เป็นโรคขนาดหน่อใบธงหรือใบหูกวางสูงไม่เกิน  1 เมตรเอาเหง้าพร้อมรากที่มีดินติดรากขึ้นมาด้วย  1- 2 ช้อนแกงสับหรือบดให้ละเอียดโดยไม่ต้องล้างน้ำแล้วนำมาคลุกเคล้ากับกากน้ำตาลในอัตราส่วนเป็นน้ำหน่อกล้วย  3 ส่วนต่อกากน้ำตาล  1 ส่วนเช่นหน่อกล้วย  3  กิโลใช้กากน้ำตาล  1 กิโล ถ้าหน่อกล้วย 6 กิโล  ใช้กากน้ำตาล 2   กิโลเป็นต้นหมักในภาชนะพลาสติกมีฝาปิดเก็บไว้ในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกจากนั้นคนเช้าเย็นทุกวันจนครบ7 วันแล้วคั้นเอาน้ำออกเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน  ในกรณีต้องการใช้มากให้ขยายเชื้อโดยใช้สูตรขยาย

           2. จุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรขยาย          
         ส่วนผสม
          1.  หยวกกล้วยสับบดละเอียด        60  กก.
          2.  กากน้ำตาล                           20  กก.
          3.  น้ำ                                      10 ลิตร
          4.  ลูกแป้งข้าวหมาก                     1  ก้อน
          5.  หัวเชื้อ                                  1 ลิตร
  
           วิธีทำ
           ผสมส่วนต่างๆในถังพลาสติก โดยบี้ลูกแป้งข้าวหมากให้เป็นผงเสียก่อน ต้นกล้วยใช้เฉพาะส่วนของต้นที่ใหญ่หรือตัดเครือแล้ว  สับบดย่อยหรือโขลกให้ละเอียดก่อนใส่ แล้วคนให้เข้ากันปิดฝาเก็บในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก  จากนั้นคนเช้าเย็นจนครบ  7 วัน  จึงคั้นเอาแต่น้ำเก็บไว้ซึ่งใช้ได้ดีเช่นเดียวกับ หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย  
           ประโยชน์และวิธีใช้
           1.ใช้ปรับปรุงโครงสร้างของดินและกำจัดเชื้อโรคในดินผสมจุลินทรีย์หน่อกล้วยในอัตรา 20 -40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดลงบนดินรวมไปพร้อมกับการให้น้ำ
            2. ใช้ป้องกันกำจัดโรคพืช  ผสมจุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ซีซีต่อน้ำ 20  ลิตรฉีดต้นพืชให้เปียกชุ่มโชกทั่วทั้งใบและใต้ใบเพื่อล้างน้ำฝนภายหลังจากที่ฝนหยุดตกนานเกิน 30นาทีเพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำ หรือฉีดพ่นใน20 ซีซี  ต่อน้ำ 20 ลิตรเมื่อพบการระบาดของโรคพืชทั้งเว้นการให้น้ำ  48 ช.ม. เพื่อลดความชื้น
           3. ใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำในร่องสวนสระเก็บน้ำและบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10  ลิตร ต่อน้ำ  10,000  ลิตร
           4.  ล้างทำความสะอาดคอกสัตว์ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วย  1  ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร
          5. เร่งการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุหรือดับกลิ่นขยะของเน่าเสียให้ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตรกรณีหมักฟางข้างในแปลงนาใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย 5 ลิตรต่อพื้นที่นา 1 ไร่
          6. จุลินทรีย์หน่อกล้วยเก็บไว้ใช้ได้นาน 6  เดือน
  หมายเหตุ   กรณีฉีดพ่นหรือราดลงดินโดยไม่ให้ถูกใบพืชสามารถใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย1  ลิตร ต่อน้ำ  200ลิตรเพื่อปรับโครงสร้างของดินแต่การใช้แต่ละครั้งไม่ควรเกิน  5 ลิตรต่อ  1  ไร่



สูตร 1-4-7 ของ ดร.ระวี เสรฐภักดี


          สูตร1-4-7คือสูตรการรักษายอดอ่อนอันทรงประสิทธิภาพคิดค้นขึ้นโดย รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี
เกจิไม้ผลชื่อดังของเมืองไทย แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน"หลายครั้งที่มีผู้นำสูตรนี้ไปใช้แล้วไม่ได้ผลแม้จะมีกรรมวิธีการใช้สารเคมีและการฉีดพ่นตามวงรอบที่ถูกต้องแล้วก้อตามแต่ยอดอ่อนก้อยังถูกโรคและแมลงเข้าทำลาย จึงเป็นเหตุให้พาลคิดว่าใช้สูตรนี้ไม่ได้ผลซึ่งแท้จริงแล้วจุดสำคัญที่สุดจะอยู่ที่ การนับวันแรกที่จะเริ่มใช้สูตร1‬-4-7
          ครั้งที่ 1 ของการใช้สูตร 1-4-7 จะเริ่มตั้งแต่ยอดอ่อนผลิออกมาใหม่ประมาณเขี้ยวกระแต‬ยอดอ่อนผลิออกมาใหม่ประมาณเขี้ยวกระแต‬ คือยอดอ่อนแตกได้ ประมาณ 3 - 5 มม. ซึ่งในช่วงระยะเวลานนี้จะมีทั้งโรคและแมลงเข้ามาวางไข่และทำลายยอดอ่อน ให้เริ่มนับเป็นวันที่ 1 โดยฉีดพ่น (จับใบ+       (อิมิดาครอพริด,กำมะถันทอง) )
‪           ครั้งที่2‬ หลังจากฉีดพ่นครั้งที่ 1 ให้เว้นสองวันแล้วเริ่มฉีดพ่นในวันที่ 4 (จับใบ+(อบาเม็กติน,ไซเปอร์เมทริน) )
‪            ครั้งที่3‬ หลังจากฉีดพ่นครั้งที่ 2 ให้เว้นสองวันแล้วเริ่มฉีดพ่นในวันที่ 7 (จับใบ+ฟังกูราน+  (คาร์โบซัลแฟน,โอไมท์) )
‪           ข้อควรระวัง‬ ห้ามพ่นสารเคมีขณะเเดดจัดหรือผสมสารเข้มข้นจนเกินไป การใช้สารเคมีจะสลับปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ไม่ได้ตายตัวว่าต้องใช้ตามนี้ เพียงเท่านี้ยอดอ่อนก็จะผลิออกสวยงาม ไม่มีปัญหาหนอนชอนใบหรือใบบิดม้วนอันเนื่องมาจากเพลี้ยไฟหรือไรแดงแน่นอนคับ